มาตรฐาน Wiegand กับ การเชื่อมต่อสื่อสาร ใน RFID Reader
มาตรฐานการ สื่อสารข้อมูลแบบ Weigand Interface
การสื่อสารข้อมูลแบบ Wiegand Interface เป็นมาตรฐาน การส่งข้อมูลแบบ Digital ออกแบบมา ในปี 1980 เพื่อใช้กับเครื่องอ่านบัตร เซนเซอร์ สำหรับงาน Access control โดยยุคแรกจะเป็นแบบ เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก ในระยะหลัง เทคโนโลยีเปลี่ยนมาเป็น RFID นิยมใช้กับหัวอ่านบัตร RFID เป็นจำนวนมาก ส่งข้อมูล Digital โดยใช้สายสัญญาณ 2 เส้น คือ สาย DATA0 และ DATA1 โดยที่ DATA0 ใช้การส่งในรูปแบบ TTL คือ logic 0 = 0 volt และ logic 1 = 5 volt จะถูกใช้เมื่อต้องการส่ง Binary 0 แต่ DATA1 จะถูกใช้เมื่อต้องการส่ง Binary 1 โดยทั้งสอง สถานะปกติจะเป็น logic High และเมื่อต้องข้อมูล จะถูกเปลี่ยนสถานะเป็น Logic Low
ตัวอย่างเช่น
ต้องการ ส่งข้อมูล 1 byte คือ 78
- แปลงข้อมูล 78 = 01001110 ; สำหรับใน ส่วนของ data จะเป็นไปตาม รูปแบบการส่ง ด้านล่าง
0 | 1 | 0 | 0 | 1 | 1 | 1 | 0 | |
DATA0 | L | H | L | L | H | H | H | L |
DATA1 | H | L | H | H | L | L | L | H |

แสดงรูปแบบ Frame Format ของ Wiegand 24 bit
Weigand Protocal 26bit จะมีข้อมูล 26bits แบ่งเป็น Parity bit 2bits และข้อมูล 24bits
ความกว้างและช่องห่าง ระหว่างสัญญาณ อาจจะปรับเปลี่ยนไป ตามแต่โรงงานผู้ผลิต
สำหรับมาตรฐาน Weigand ที่นิยมใช้สำหรับงาน RFID Reader มี 2มาตรฐาน คือ Wiegand26bits และ Wiegand34bits โดยเมื่อตัด Bitนำ และ Bitท้ายออก จะได้ bitข้อมูล 24 และ 32 bit ตามลำดับ ซึ่งเท่ากับว่า จะสามารถส่งเลขรหัสได้ 224 = 16,777,216 และ 232=4,294,967,296 ไม่ซ้ำกัน
ในการส่งข้อมูล Wiegand แบบ 24 bits data จะแบ่งเป็น 8+16 คือ 8bitsแรก เป็น ID ของผู้ผลิต และ 16bits หลังเป็นเลขบัตร
ความยาวสูงสุดของระยะสายสำหรับสัญญาณ ระหว่างหัวอ่าน RFID แบบ Wiegand ถึงอุปกรณ์รับสัญญาณ ขึ้นอยู่กับคุณภาพของหัวอ่าน ,สาย และสภาพแวดล้อม (Noise) ซึ่งระยะจะอยู่ในช่วง 100-500 ฟุต สำหรับสายควรเป็นสายต้งแต่เบอร์ 18AWG ขึ้นไป สำหรับในสภาวะแวดล้อมที่มีสัญญาณรบกวน หรือ สายสัญญาณยาว ควรเลือกใช้สายแบบ Twist-pairs และมี Ground-shield
Link เกี่ยวข้อ